วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ

                 แนวคิดการเอา DNA มาทำคอมพิวเตอร์นั้นถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปี 1994 โดย Leonard Adelman เพื่อแก้ปัญหา "travelling salesman problem" (หาเส้นทางที่สั้นที่สุดในการลากเชื่อมจุด) และในปี 2006 ทีมวิจัยที่นำโดย Erik Winfree แห่ง Caltech ก็ได้เคยสร้างวงจรคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วย DNA ถึง 12 สายมาแล้ว แต่ว่าวงจรนั้นช้าเกินกว่าจะคำนวณอะไรได้จริงจังกลับมาคราวนี้ Erik Winfree ได้จับมือกับ Lulu Qian แห่ง Caltech เหมือนกัน สร้างวงจรคอมพิวเตอร์ DNA อีกครั้งซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างต่ำ 5 เท่า ตัววงจรประกอบด้วยสาย DNA สั้นๆ ถึง 74 สาย เมื่อรวม input และ output ในแต่ละรอบการคำนวณ จะมีสาย DNA เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งกระบวนการกว่า 130 สาย

หลักการที่พวกเขาใช้ไม่ได้ต่างจากวงจรคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่เลย แค่แทนที่ logic gate ที่เป็นทรานซิสเตอร์ซิลิคอนด้วยสาย DNA, และแทนที่สัญญาณ input/output ด้วยสาย DNA เช่นเดียวกัน
พวกเขาสร้าง DNA สายเดี่ยวและสายคู่ที่มีลำดับเบสตามที่ได้โปรแกรมเอาไว้ จากนั้นก็ใส่มันเข้าไปในหลอดทดลอง ช่วงสาย DNA ที่มีคู่เบสเข้าคู่กัน (เช่น A กับ T, และ C กับ G) ก็จะจับกันโดยธรรมชาติ ปฏิกิริยาการจับกันและแยกคู่กันของสาย DNA ก็จะเหมือนกับการประมวลผลสัญญาณไฟฟ้าของ logic gate ที่เป็นซิลิกอน เมื่อปล่อยให้ปฏิกิริยาดำเนินไปจนจบ ผลลัพธ์ก็จะอ่านได้จากสีเรืองแสงที่พวกเขาได้ติดไว้กับสาย DNA
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ DNA รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ต้องถือว่าใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ซิลิกอนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา มันสามารถคำนวณรากที่สองของเลขฐานสองได้สูงสุดถึง 4 หลัก (เท่ากับ 15 ในเลขฐานสิบ) ค่าผลลัพธ์ที่ได้ละเอียดสูงสุดถึงทศนิยม 0 ตำแหน่ง (อ่านไม่ผิดครับ ศูนย์ตำแหน่ง) ใช้เวลาในการคำนวณแต่ละครั้ง 6-10 ชั่วโมง!
แน่นอนด้วยประสิทธิภาพขนาดนี้ คงไม่มีใครอยากซื้อคอมพิวเตอร์ DNA มาเก็บให้รกบ้าน และจุดมุ่งหมายของนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่การสร้าง dnaPAD หรือ iDNA ขายแข่งกับใครที่ไหน พวกเขาฝันว่าสักวันหนึ่งจะสามารถสร้างวงจรที่ซับซ้อนพอควบคุมกระบวนการชีวเคมีในเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างหาก

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

หุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์


กลับมาอีกครั้งสำหรับหุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์จากฝรั่งเศสทีมีชื่อว่า Nao ซึ่งก่อนหน้านี้ได้นำเสนอข่าวคราวความสามารถของหุ่นยนต์สอนคนชราออกลังกายไปแล้ว สงสัยข่าวนี้จะทำให้เจ้า Nao รู้สึกว่า ตนเองแม้จะตัวเล็กกว่า แต่ก็น่าจะทำได้เหมือนกัน ว่าแล้วมันก็เลยออกมาวาดลวดลายโชว์ท่วงท่าการร่ายรำไท้เก็ก<?xml:namespace prefix = o ns = “urn:schemas-microsoft-com:office:office” />
รายงานข่าวระบุว่า ประเทศฝรั่งเศสกำลังมีโครงการดีๆ ที่ชื่อว่า Project Romeo ซึ่งจะเป็นการพัฒนาหุ่นยนต์เดิน 2 ขาที่มีความสูงประมาณ 1.2 – 1.5 เมตร เพื่อเป็นผู้ช่วยคนชราที่สายตามีปัญหา โดยคาดว่า หุ่นยนต์ตัวดังกล่าวจะสำเร็จภายในปี 2011 หุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวนี้จะมีน้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม ทั้งนี้ได้เลือกใช้เจ้า Nao เป็นต้นแบบในการพัฒนาหุ่นยนต์ Romeo
ความจริงเจ้า Nao สามารถมองเห็นวัตถุ อีกทั้งยังสามารถใช้มือที่มีนิ้วอยู่สามนิ้วของมันหยิบจับ และปล่อยสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้ ซึงหากนำความสามารถของมันมาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ทีมีขนาดใหญ่ขึ้นไปไว้ดูแลคนชราที่สายตาฝ้าฟาง ไม่ให้เดินหกเดินล้ม หรือชนสิ่งของ ก็คงจะดีไม่น้อย งานนี้ต้องถือว่าเป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะกลายเป็นเพื่อนมนุษย์ในศตวรรษหน้าอย่างแท้จริง


วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ลบสิว สวยหน้าใสใน 2 นาที ด้วยโปรแกรม XiuXiu

โปรแกรม XiuXiu

        
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  โปรแกรม XiuXiu เป็นโปรแกรมสำหรับตกแต่งรูป ที่จะทำหน้าตาของเราให้ดู สวย เนียน สดใส น่ารัก และที่สำคัญที่สุดคือ โปรแกรมนี้ใช้งานง่ายมาก แม้ว่าจะตัวโปรแกรม XiuXiu จะเป็นภาษาจีนทั้งหมดก็ตามครับ
ข้อดี
1. ปรับแต่งรูปได้เหมื่อนจริง
2.ใช้ง่าย
3.ตกแต่งภาพได้หลายรูปแบบ
 

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์นำทาง

GPSMAP62S




           เครื่องนำทางแบบ handheld GPSMAP 62s ที่ถูกออกแบบใหม่เอี่ยม มาพร้อมกับเข็มทิศสามแกนที่ชดเชยความเอียง เครื่องมือวัดความสูงด้วยความกดดันของบรรยากาศ และการสนับสนุน Custom Maps ภาพถ่ายดาวเทียม BirdsEye™ Satellite (ต้องเสียค่าสมัคร) และการนำทางด้วยภาพถ่าย แข็งแรงทนทานและกันน้ำ GPSMAP 62s ใช้เสาสัญญาณแบบ quad helix สำหรับการรับสัญญาณที่ดีเยี่ยม สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ USB ความเร็วสูง การออกแบบที่ทันสมัยและเชื่อมต่อแบบไร้สายกับเครื่อง handheld รุ่นที่ใช้งานร่วมกันได้ของ Garmin



คุณสมบัติ
  • 1.เป็นเครื่องมือหาตาแหน่งพิกัดบนโลกโดยใช้สัญญาณจากดาวเทียมในระบบ GPS
  • 2.มีเครื่องรับสัญญาณ GPS แบบความไวสูง (High-Sensitivity) ที่รองรับระบบ WAAS and HotFix
  • 3.มีความคลาดเคลื่อนของการหาตาแหน่งไม่มากกว่า 10 เมตร RMS
  • 4.จอภาพสี LCD ขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 1.6 x 2.2 นิ้ว , แบบ TFT ไม่น้อยกว่า 65,000 สี มีไฟส่องสว่างหน้าจอ
  • 5.แสดงตาแหน่งพิกัดทั้งระบบพิกัด UTM และ Latitude/Longitude
  • 6.แสดงค่าพิกัดบน Datum สากล (WGS84) และ Datum ที่ใช้กับประเทศไทยได้
  • 7.บันทึกข้อมูลตาแหน่งพิกัดได้ไม่น้อยกว่า 2,000 จุด และสร้างเส้นทางได้ 200 เส้นทาง
  • 8.บันทึกข้อมูลค่าพิกัดโดยอัตโนมัติ (Track Log) ได้ถึง 10,000 จุด และสามารถแยกจัดเก็บได้สูงสุดถึง 200 Saved Tracks
  • 9.สร้างเส้นทางกลับอัตโนมัติได้ (Track back)